รีวิวหนังเรื่อง Incredibles 2 (2018) รวมเหล่ายอดคนพิทักษ์โลก 2

หนังเปิดเรื่องด้วยฉากแอ็คชั่นทั้งครอบครัวพาร์ พ่อแม่กับลูกทั้ง 3 และโฟรโซน ออกมายับยั้งการปล้นธนาคารของอันเดอร์ไมเนอร์ วายร้ายที่มาพร้อมกับรถหัวเจาะขนาดยักษ์ เป็นฉากแอ็คชั่นที่ดูแล้วก็สงสัยกับตัวเอง ว่าที่ดูอยู่นี่มันคือหนังการ์ตูน แต่ทำไมมันสนุกจังวะ งานออกแบบฉากแอ็คชั่นยอดเยี่ยมสนุกไม่แพ้หนังซูเปอร์ฮีโรคนแสดงเลย สถานการณ์ชวนลุ้นตื่นเต้น ทั้งต้องยับยั้งแผนปล้นธนาคาร ทั้งต้องช่วยเหลือผู้คน ทั้งต้องไล่ตามจับอันเดอร์ไมเนอร์ แล้วบทก็กระจายหน้าที่ให้ทุกคนได้มีบทบาท แถมยังสอดแทรกมุกตลกกับการเกี่ยงกันดูแล แจ๊ค-แจ๊ค เจ้าตัวเล็กที่ยังไม่ประสีประสา จากนั้นก็เปิด 2 ตัวละครใหม่คู่สำคัญพี่น้องตระกูลเดเวอร์ วินสตัน และ เอเวอลีน ที่เป็นแฟนคลับของมิสเตอร์อินเครดิเบิ้ล และ อีลาสติเกิร์ล พร้อมสนับสนุนให้ยกเลิกกฏหมายแบนซูเปอร์ฮีโร่ ด้วยการผลักดันให้อีลาสติเกิร์ลออกปฏิบัติการอีกครั้ง และยังเอื้อเฟื้ออุปกรณ์ ชุด พาหนะ และบ้านพักให้ครอบครัวพาร์ด้วย แผนการเหมือนจะดำเนินไปด้วยดี อีลาสติเกิร์ลได้รับการสรรเสริญจากประชาชน ท่านทูตออกโรงสนับสนุนยกเลิกแบนซูเปอร์ฮีโร่ แต่แล้วก็มีวายร้ายตัวใหม่ สกรีนสเลฟเวอร์ ที่มีความสามารถในการสะกดจิตผู้คนผ่านจอมอนิเตอร์ให้ทำเรื่องร้าย ๆ กลายเป็นภารกิจครั้งใหญ่ของครอบครัวพาร์ และโฟรโซน ที่จะต้องยับยั้งแผนการของสกรีนสเลฟเวอร์และกระชากหน้ากากผู้อยู่เบื้องหลังนี้ออกมา ตรงจุดนี้แหละที่หนังโดนเสียงบ่นเรื่องแสงแสบตา และมีผลต่อสุขภาพคนดู เพราะก่อนที่สกรีนสเลฟเวอร์จะสะกดจิตจะยิงแสงกะพริบที่สว่างมากเป็นเวลานานใส่เหยื่อ ก็ยอมรับนะว่าสว่างและรบกวนสายตามากจริง ๆ แม้ว่าตัวเองจะสายตาปกติก็ยังรู้สึกไม่สบายตา ถึงฉากนี้ก็เบือน ๆ หน้าหลบกันหน่อยแล้วกัน ฉากไคลแมกซ์ท้ายเรื่องนับว่าเป็นจุดที่พีคจริง ๆ เราคาดหวังมาตลอดว่าอยากเห็นเจ้า… Continue reading รีวิวหนังเรื่อง Incredibles 2 (2018) รวมเหล่ายอดคนพิทักษ์โลก 2

รีวิวหนังเรื่อง Monsters University (2013) มหา’ลัย มอนส์เตอร์

ปลุกความเป็นเด็กในตัวคุณ! ปลุกช่วงวัยเด็กอันรุ่งโรจน์ขึ้นมาอีกครั้งกับภาคต่อ (หรือภาคก่อนหน้า?) ของ Monsters, Inc. ภาพยนตร์แอนิเมชั่นที่ครองใจคนทั่วโลกมาแล้ว อันมีนามว่า Monsters University มหา’ลัยมอนสเตอร์ Monsters University เป็นผลงานเรื่องล่าสุดจากพิกซาร์ ค่ายลูกของดิสนีย์ที่ฝากผลงานภาพยนตร์แอนิเมชั่นที่มัดใจทั้งผู้ใหญ่และเด็กมาแล้วทั่วโลก ได้ผู้กำกับใหม่ที่เปลี่ยนจาก Pete Docter ในภาคแรกมาเป็น Dan Scanlon แทน ตัวแดนเองยังไม่เคยกำกับหนังใหญ่จากพิกซาร์มาก่อน แต่ก็พอมีประสบการณ์กำกับมาจาก Mater and the Ghostlight การ์ตูนสั้นของเจ้าเมเทอร์จากเรื่อง Cars มาแล้ว มีประสบการณ์ในหนังด้านนี้มาพอสมควรจากการเป็น storyboard artist ให้พิกซาร์และดิสนีย์ ผลงานอาทิ Cars, Little Mermaid 2, 101 Dalmatians 2 ความจริงแล้วภาคนี้ไม่น่าจะได้เกิดขึ้นด้วยซ้ำในตอนแรก จากหนังสือ Art of Monsters University กล่าวไว้ว่าครั้งนึงเคยมีการประชุมกันที่พิกซาร์เรื่องภาคต่อของ Monsters, Inc. มีการถกเถียงกันอยู่นาน ทางด้านพีทผู้กำกับภาคแรกบอกว่าเรื่องในภาคแรกมันจบอย่างสมบูรณ์แล้ว บูจากซัลลี่และไมค์ไปแล้ว… Continue reading รีวิวหนังเรื่อง Monsters University (2013) มหา’ลัย มอนส์เตอร์

รีวิวหนังเรื่อง Toy Story 4 (2019) ทอย สตอรี่ 4

จริง ๆ นี่ก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่ Toy Story ได้ออกจากอ้อมอกของแลสเซตเตอร์ เพราะในภาคที่ 3 เมื่อปี 2010 ก็ถ่ายมือมาสู่ ลี อุนคริช ผู้กำกับที่เคยร่วมกำกับกับแลสเซตเตอร์ในภาคที่ 2 ทั้งยังสร้างบารมีด้วยการกำกับร่วมในหนังอย่าง Monsters, Inc. (2001) และ Finding Nemo (2003) มาก่อน ทั้งในภาค 3 ตัวแลสเซตเตอร์ยังช่วยดูบทหนังให้อยู่ด้วย เมื่อเทียบกันงานภาค 4 ของคูลีย์จึงเป็นงานที่ยากและท้าทายกว่า ตรงที่ไม่มีพ่อผู้ให้กำเนิดดูแลเกี่ยวข้องอีกต่อไป แต่อย่างไรก็ตามแฟน ๆ ไม่ต้องตกใจไปว่าจะเป็นหนัง Toy Story ที่เราไม่รู้จัก เพราะตัวหนังยังคงได้ แอนดรูว์ สแตนตัน ที่ร่วมเขียนบทตั้งแต่ภาคแรกมาช่วยเขียนบทให้เช่นเคย ทั้งยังได้ผู้เกี่ยวข้องกับหนังชุดนี้เข้ามาช่วยกันหลายต่อหลายคนทีเดียว แม้จะมีข่าวไม่สู้ดีว่าหนังเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ 4 ของพิกซาร์ที่มีการเปลี่ยนทั้งผู้กำกับและมีการเขียนบทใหม่ ซึ่งไอ้ 3 เรื่องก่อนหน้า ก็แป้กไปเสีย 2 เรื่องแล้วด้วย (ฺBrave กับ The Good… Continue reading รีวิวหนังเรื่อง Toy Story 4 (2019) ทอย สตอรี่ 4

รีวิวหนังเรื่อง Pete’s Dragon (2016) พีทกับมังกรมหัศจรรย์

ปีนี้เราได้ดูหนังที่ตัวเอกเป็นเด็กโตในป่า 3 เรื่องแล้ว Jungle Book ,The Legend Of Tarzan แล้วก็มาถึง Pete’s Dragon หนังแปะยี่ห้อดิสนีย์ ที่รอบนี้ พีท เป็นเด็ก 4 ขวบที่ประสบอุบัติรถคว่ำในป่า พ่อแม่เสียชีวิต มังกรมาเก็บพีทไปเลี้ยง พีทเรียกมังกรของเขาว่า เอลเลียต ตามชื่อหมาในนิทานเรื่องโปรด พีทกะเอลเลียตอยู่กันมาอย่างสงบสุขถึง 6 ปี จนเมื่อกลุ่มคนตัดไม้รุกล้ำไปใกล้อาณาเขตของพีทและเอลเลียต มีผู้พบเห็นพีท ความโกลาหล จึงคืบคลานมาใกล้พีทและเอลเลียต เดวิด โลเวอรี ผู้กำกับชื่อไม่คุ้นหู แต่อยู่ในวงการมานานเก่งทั้งเขียนบทและตัดต่อ มารับเหมาหน้าที่กำกับและดัดแปลงบทภาพยนตร์จากหนังต้นฉบับที่ดิสนีย์เคยสร้างเป็นคนผสมการ์ตูนเมื่อปี 1977 และปรับเปลี่ยนเรื่องราวไปมากพอดู จากมังกรที่เป็นการ์ตูนก็เป็นมังกรซีจี ที่ภาพลักษณ์ดูแปลกและขัดตามากในแวบแรกที่เห็น เพราะดูมีความเป็นการ์ตูนมากต่างจากมังกรที่เคยเห็นบนจอภาพยนตร์ ด้วยขนสีเขียวปุยหน้าเหมือนหมา มีความละม้ายกับมังกรใน Never Ending Story หนังแฟนตาซีเมื่อปี 1984 แต่พอเรื่องราวดำเนินไปก็พอเข้าใจได้ว่า ภาพลักษณ์ที่ต้องให้ออกมาน่ารักขนปุยแบบนี้มีความสำคัญต่อโทนเรื่องอย่างมาก เพราะต้องสื่อให้คนดูเห็นถึงความน่ารักใจดีของเอลเลียต เป็นมังกรที่เด็กเห็นแล้วไม่ตกใจกลัว มีความอบอุ่นรักกันผูกพันเหมือนเป็นพี่น้อง นอนซุกกันทุกคืนเพื่อจะสื่ออารมณ์ไปถึงฉากดราม่าของหนังได้ถึงจุด เชื่อว่าคนบ่อน้ำตาตื้นได้เสียน้ำตาแน่ ๆ… Continue reading รีวิวหนังเรื่อง Pete’s Dragon (2016) พีทกับมังกรมหัศจรรย์

รีวิวหนังเรื่อง Wall-E (2008) วอลล์ – อี หุ่นจิ๋วหัวใจเกินร้อย

ช่วงนี้ก็จะดูหนังเหงาบ่อยหน่อย อยากเก็บลิสต์ให้หมด สำหรับ Wall-E ก็เป็นอีกหนึ่งหนังเหงาที่เราอยากหยิบกลับมาดูอีกครั้ง เชื่อว่านี่เป็นหนังในดวงใจของหลายๆ คน ด้วยคอนเซ็ปต์แปลกใหม่ที่ให้หุ่นยนต์เป็นตัวดำเนินเรื่อง แถมยังแทบไม่มีบทพูดระหว่างตัวละครหลักเลยด้วย! Wall-E เล่าเรื่องของวอลล์-อี หุ่นยนต์เก็บขยะตัวสุดท้ายบนโลกนี้ เขามีเพื่อนอยู่คนเดียวคือแมลงสาบ รอบด้านเขาเต็มไปด้วยกองขยะและเศษซากอารยธรรมของมนุษย์ ดูก็รู้ว่าไม่มีมนุษย์คนไหนอาศัยอยู่บนโลกนี้แล้ว และสภาพของโลกก็ไม่น่าจะเหมาะสำหรับสิ่งมีชีวิต (เว้นไว้ให้แมลงสาบผู้ถึกตลอดกาลสักตัว) ทุกๆ วันวอลล์-อีจะทำหน้าที่อย่างขมักเขม้น นั่นก็คือการบีบอัดขยะแล้วจัดการมันให้เข้าที่เข้าทาง ถ้าวันไหนเจอขยะที่ดูมีค่าหน่อย ก็จะเก็บกลับบ้านไปสะสมเป็นคอลเล็กชั่น วันหนึ่งเขาก็เจอเรื่องน่าประหลาด เพราะท่ามกลางความแห้งแล้งแร้นแค้นของโลกใบนี้ กลับมีต้นไม้ต้นเล็กๆ หลบซ่อนอยู่! แน่นอนว่าวอลล์-อีไม่พลาดเก็บเข้ากรุ ในตอนกลางคืน วอลล์-อีจะกลับเข้าบ้าน และเปิดดูโทรทัศน์เครื่องเก่า ที่ซึ่งฉายหนังรักโรแมนติกเก่าๆ มีทั้งฉากที่ผู้คนเต้นรำ และฉากที่พระนางจับมือกัน วอลล์-อีดูแล้วก็อยากจะลองจับมือกับใครสักคนบ้าง แต่ก็ดูเหมือนจะเป็นแค่ฝันลมๆ แล้งๆ เพราะมันไม่เหลือใครแล้วนี่นะ ความเหงาปกคลุมบรรยากาศอย่างรู้สึกได้ชัด การอยู่อย่างโดดเดี่ยว มีเพียงเพื่อนแมลงสาบบนโลกนั้นฟังยังไงก็ดูอ้างว้างเปล่าเปลี่ยวเกินจะทน จนกระทั่งวันหนึ่ง วอลล์-อีก็ได้พบกับอีฟ หุ่นยนต์สาวรูปทรงล้ำ ที่ถูกยานอวกาศนำมาปล่อยทิ้งไว้ วอลล์-อีเจออีฟครั้งแรกก็หลงรักทันที แต่ช่วงแรกๆ อีฟก็จะเย็นชาและอารมณ์เกรี้ยวกราดหน่อย เห็นอะไรผิดสังเกตก็ยิงทิ้งตลอด แต่วอลล์-อีก็เข้าไปใกล้ชิดสนิทสนม ทำให้อีฟกลายเป็นเพื่อนของวอลล์-อีจนได้ วอลล์-อีพาอีฟเข้ามาในบ้าน โชว์สิ่งของต่างๆ ที่เขาเก็บสะสมไว้ให้ดู รวมไปถึงต้นไม้ด้วย เมื่อพบเจอต้นไม้… Continue reading รีวิวหนังเรื่อง Wall-E (2008) วอลล์ – อี หุ่นจิ๋วหัวใจเกินร้อย

รีวิวหนังเรื่อง Inside Out (2015) มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง

ในศูนย์บัญชาการ ซึ่งเป็นศูนย์ควบคุมภายในความคิดของไรลีย์ เด็กหญิงวัย 11 ขวบ อารมณ์ทั้งห้ากำลังทำงานอย่างหนัก พวกเขานำทีมโดย ความสุข ผู้มองโลกในแง่ดี ภารกิจของเธอคือการทำให้แน่ใจว่าไรลีย์จะมีความสุขอยู่เสมอ ความกลัวคอยดูแลเรื่องความปลอดภัย ความโกรธคอยรับประกันความยุติธรรม และความรังเกียจที่คอยป้องกันไม่ให้ไรลีย์ต้องบอบช้ำ ทั้งทางร่างกายและสังคม ความเศร้าไม่ค่อยแน่ใจว่าหน้าที่ของเธอคืออะไร และพูดตรงๆ เลยว่า คนอื่นก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน เป็นหนังการ์ตูนที่มีสีสัน แต่จริงๆ ไม่ใช่หนังที่เด็กเข้าใจได้ง่ายๆ ผู้กำกับ-เขียนบท Pete Doctor of up (2009) และ Monster Inc. (2001) สร้างโลกแฟนตาซี หยิบเอาอารมณ์หลักๆ ของเราทั้ง 5 มาเป็นตัวการ์ตูนวิ่งอยู่ในหัว ในเรื่องราวของไรลีย์ที่สร้างใหม่นี้ เด็กหญิงอายุ 12 ปีที่มีจอยหรือจอยเป็นตัวควบคุมหลักของเธอ และพ่อแม่ของเธอก็ย้าย เธอจึงต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ หนังปูเรื่องราวการทำความรู้จักกับไรลีย์ และในไม่ช้าระบบอารมณ์ก็พาผู้ชมไปผจญภัยกับ Joy and Sadness ที่พลาดการพาตัวเองเข้าไปในดินแดนแห่งความทรงจำระยะยาว จากนั้นหนังก็ระเบิดตัวการ์ตูนใหม่ๆ และดินแดนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน. สนุกเต็มอิ่มไปกับผองเพื่อนในจินตนาการ Dream Studio… Continue reading รีวิวหนังเรื่อง Inside Out (2015) มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง

รีวิวหนังเรื่อง The Greatest Showman (2017) โชว์แมน บันลือโลก

The Greatest Showman จะพาเราเดินไปตามรอยเท้าของ พี.ที. บาร์นัม ตั้งแต่สมัยเป็นเด็กยากไร้ จนกระทั่งเริ่มสร้างคณะละครสัตว์คณะแรกของเขาเองขึ้นมาในนิวยอร์ก ในเรื่องนี้ แซค เอฟรอน (Zac Efron) จะมารับบทเป็น ฟิลลิป หุ้นส่วนทางธุรกิจของบาร์นัม ที่มาตกหลุมรักนักแสดงกายกรรมสาวคนหนึ่งที่รับบทโดย เซนดายา (Zendaya) เดิมที The Greatest Showman จะถูกทำออกมาเป็นหนังอัตชีวประวัติดั้งเดิม อย่างไรก็ตาม เรื่องราวของพี.ที. Barnum บิดาแห่งธุรกิจบันเทิงของอเมริกาเต็มไปด้วยดราม่าที่สามารถนำมาสร้างเป็นหนังได้สนุก ความรัก การต่อสู้ หรือแม้กระทั่งข้อความทางการเมือง เช่น เชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ นี่เป็นธีมทั่วไปในภาพยนตร์ฮอลลีวูดทุกเรื่องในปี 2560 กับละครเพลงฮิตอย่าง Chicago (2545) และ Dreamgirls (2549) เขาเลือกที่จะมุ่งเน้นไปที่การสร้างฉากการแสดง เพื่อบอกเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับชีวิตของ Barnum ชีวิตของตัวละครแต่ละตัว เราไม่รู้ว่าชีวิตของ Barnum เป็นอย่างไร เพราะภาพยนตร์เรื่องนี้เลือกที่จะเล่าถึงแสงสว่างในชีวิตของเขาและคนรอบข้าง พระรามเล่าเรื่องราวของชายผู้ต่อสู้เพื่อชีวิตของเขา ชีวิตของตัวละครต้องผ่านความยากลำบากมามาก นี่อาจไม่ใช่หนังสำหรับคุณ ในทางกลับกัน นี่คือละครเพลงร่วมสมัยที่เปรียบเสมือนลูกผสมของภาพยนตร์-มิวสิกวิดีโอที่ใช้ดนตรีเพื่อบอกเล่าชีวิตของตัวละคร ที่ยอมรับว่าหลายตอนของหนังมีกลิ่นของดนตรีสไตล์วังของมือเบส… Continue reading รีวิวหนังเรื่อง The Greatest Showman (2017) โชว์แมน บันลือโลก

รีวิวหนังเรื่อง Mary Poppins Returns (2018) แมรี่ ป๊อปปิ้นส์ กลับมาแล้ว

เรื่องราวของเด็ก ๆ จากครอบครัว แบงค์สที่ตอนนี้เติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวแล้ว แต่พวกเขากำลังทุกข์ทรมานกับการสูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง “แมรี่ ป๊อปปินส์” จึงต้องกลับมาเพื่อช่วยเหลือพวกเขาและลูก ๆ ทั้ง 3 คนให้ได้พบกับความสุขอีกครั้ง โดย Mary Poppins เปิดตัวในปี 1964 และยังคว้า 5 รางวัลออสการ์ โดยเฉพาะ Julie Andrews ในสาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมที่ขโมยหัวใจคนดูทั่วโลก ความจริงที่ว่าภาคต่อนั้นห่างกันถึง 54 ปีเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าโครงการนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายและต้องรับมือกับความคาดหวังของแฟนๆ ที่มีอายุมากกว่า และยังต้องเชิญชวนให้ผู้ชมรุ่นใหม่อยากรู้จักพี่เลี้ยงคนเก่งคนนี้อีกด้วย แต่เมื่อภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการตั้งชื่อ ร็อบ มาร์แชล ผู้กำกับดนตรีชื่อดังก็สามารถทำให้แมรี่ ป๊อปปิ้นส์กลับมามีชีวิตอีกครั้งได้ อย่างไรก็ตาม ฉันต้องยอมรับว่า Rob Marshall ยังคงทำหน้าที่กำกับฉากดนตรีได้อย่างยอดเยี่ยม ที่ทำให้หนังเต็มไปด้วยฉากร้องเพลงทั้งที่มีและไม่มีคำบรรยายแต่ก็เรียกรอยยิ้มให้กับผู้ชมได้ จนเชื่อว่าแฟน ๆ รุ่นเก๋าของ Mary Poppins จะต้องถูกใจอย่างแน่นอน แต่กับคนดูรุ่นใหม่ต้องปรับทัศนคติต่อหนังอย่างจริงจัง ภาพยนตร์สมัยใหม่ยังเน้นการเล่าเรื่องด้วยโครงเรื่องที่ขัดแย้งกันอย่างชัดเจน และตัวเอกยังมีด้านมืด เมื่อดูภาพยนตร์ที่ตัวละครขาวมาก – ดีมากหรือดำมาก – ชั่วร้ายมาก คุณอาจรู้สึกว่าภาพยนตร์นั้นเฉยเมย… Continue reading รีวิวหนังเรื่อง Mary Poppins Returns (2018) แมรี่ ป๊อปปิ้นส์ กลับมาแล้ว

รีวิวหนังเรื่อง Togo (2019) โทโก

“Togo” (กำลังฉายใน Disney+) เป็นเรื่องราวที่ชาญฉลาดและสร้างขึ้นด้วยความรักใคร่เกี่ยวกับคนที่ตกอับและคนขี้แยของเขา “ฉลาด” เพราะมันแสดงให้เห็นว่าสุนัขเป็นทั้งลูกสุนัขที่เล็กเกินไปสำหรับการต่อสู้ และ 12 ปีต่อมาในฐานะผู้นำที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว บังคับครูลากเลื่อน Seppala (Willem Dafoe) และสุนัขตัวอื่นๆ ในการเดินทางเพื่อนำเซรุ่มกลับไปให้เจ้าตัวเล็ก อลาสก้า เมืองแห่งเด็กที่กำลังจะตาย และภาพยนตร์เรื่องนี้ก็น่ารักเพราะมีความรู้สึกของความรักสัตว์ที่ทำให้ซีเควนซ์ทั้งหมดได้พักอยู่กับเสน่ห์ของโตโก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าปล่อยให้สุนัขทำงานทั้งหมด ผู้กำกับอีริคสัน คอร์ (ก่อนหน้านี้เป็นผลงานรีเมค “Point Break”) ใส่ใจสัตว์ของเขาอย่างชัดเจน และการสร้างภาพยนตร์ของเขาก็เช่นกัน เราทุกคนรู้ว่าดิสนีย์จะไม่เล่าเรื่องนี้หากมันจบลงด้วยหายนะครั้งใหญ่ แต่บริบทนี้ช่วยให้ “โตโก” ตึงเครียดขึ้น เนื่องจากประกอบด้วยความขัดแย้งที่เพิ่มขึ้นในช่วงสั้นๆ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งรวมเข้ากับข้อความที่ตกผลึกของการไม่ยอมแพ้เมื่อเผชิญกับความทุกข์ยาก ในอดีต เส้นทางของ Togo ที่เบากว่าและตลกกว่านั้นแสดงให้เห็นว่าเขาจะไม่หยุดพิสูจน์ตัวเองแม้ว่าเขาจะถูก Seppala ขังไว้ในคอก (หรือยุ้งฉาง) ผู้ซึ่งอยากจะกำจัด Togo มากกว่าเชื่อในศักยภาพของเขา . (“นักบุญฟรานซิสแห่งอัสซีซีจะยิงสุนัขตัวนี้” Seppala กล่าว ขณะที่ลูกสุนัข Togo รูดซิปเข้าและออกจากเฟรม) การเฝ้าดูแรปสกัลเลียนขนปุกปุยแล้วออกอุบายและกระดิกตัวเพื่อหลีกหนีความท้าทายเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ก็เป็นเรื่องที่ไร้เหตุผลและเวียนหัวพอๆ กับคนรักสุนัข อาจหวัง… Continue reading รีวิวหนังเรื่อง Togo (2019) โทโก

รีวิวหนังเรื่อง Beauty and the Beast (2017) โฉมงามกับเจ้าชายอสูร

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ก่อนที่ตัวย่อ VHS และ DVD จะเป็นเรื่องธรรมดา ดิสนีย์จะปกป้องแอนิเมชั่นคลาสสิกอย่าง “สโนไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด” และ “พินอคคิโอ” ราวกับอัญมณีล้ำค่า ในขณะที่ออกใหม่ทุก ๆ สองสามปีบนหน้าจอขนาดใหญ่ ก่อนจะเก็บมันกลับเข้าไปในห้องนิรภัยของสตูดิโอ แต่ในช่วงปี 1990 กับการกำเนิดของความบันเทิงในบ้าน สตูดิโอเริ่มพิจารณาวิธีการใหม่ๆ ที่นอกเหนือไปจากการฟื้นฟูเพื่อแลกกับเรื่องราวอันเป็นที่รักเรื่องเดิม อันดับแรกคือการผลิตละครบรอดเวย์ ตามมาด้วยภาคต่อที่ส่งตรงถึงวิดีโอ ซีรีส์โทรทัศน์ที่แยกจากกัน จากนั้นเริ่มในปี 2010 ด้วยเอฟเฟกต์ของทิม เบอร์ตันเรื่อง “Alice in Wonderland” การแสดงไลฟ์แอ็กชันที่ปรับปรุงแบบดิจิทัล ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่องแรกที่ได้รับความนิยมอย่าง “โฉมงามกับเจ้าชายอสูร” ในปี 1991 ซึ่งเป็นภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่องแรกที่ไม่เพียงแค่เข้าชิงสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมของออสการ์ แต่ยังทำรายได้สูงสุดในบ็อกซ์ออฟฟิศ 100 ล้านดอลลาร์ด้วย จะได้รับรางวัลในศตวรรษที่ 21 การแปลงโฉมหลังจาก “Cinderella” และ “The Jungle Book” ตามมาด้วยรายได้บ็อกซ์ออฟฟิศทั่วโลกที่พุ่งสูงถึง 1 พันล้านดอลลาร์สำหรับ “Alice in Wonderland” บรรทัดล่างสุด: ละครเพลงสมัยเก่าอันรุ่งโรจน์พร้อมเครื่องประดับอันน่าพิศวงนี้เป็นความงามอันน่าตื่นตา… Continue reading รีวิวหนังเรื่อง Beauty and the Beast (2017) โฉมงามกับเจ้าชายอสูร